Saturday, December 13, 2014

Flowchart (รูปแบบการเขียนผังงาน)

โครงสร้างผังงานการทำงานแบบลำดับ
            โครงสร้างการทำงานแบบลำดับ (Sequence) เป็นลักษณะโครงสร้างพื้นฐานของผังงานทุกผังงาน ลักษณะการทำงานของโครงสร้างผังงานแบบลำดับจะทำงานทีละขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ลำดับการทำงานของผังงานจะทำงานตามทิศทางของลูกศร โครงสร้างของผังงานแบบลำดับ มีลักษณะโครงสร้างดังนี้
            จากโครงสร้างผังงานตามรูป การทำงานจะเริ่มต้นทำงานในกระบวนการที่ 1 (Process 1) เมื่อทำงานในกระบวนการที่ 1 เสร็จ ขั้นตอนต่อไป คือ ทำงานในกระบวนการที่ 2 เมื่อทำงานในกระบวนการที่ 2 เสร็จ จึงทำงานในกระบวนการที่ 3 เป็นขั้นตอนต่อไป ตามลำดับ การทำงานจะทำงานทีละ 1 กระบวนการ การทำงานจะไม่ทำงานหลายกระบวนการพร้อมกัน



โครงสร้างผังงานการเลือกทำ
            โครงสร้างผังงานการทำงานแบบเลือกทำ ใช้สำหรับกรณีที่ต้องการตัดสินใจเพื่อเลือกขั้นตอนการทำงานที่เหมาะสมกับข้อมูลที่ทำการประมวลผลในขณะนั้น โครงสร้างผังงานการเลือกทำประกอบด้วยสัญลักษณ์ของการตัดสินใจ 1 สัญลักษณ์ เพื่อใช้สำหรับการตัดสินใจสำหรับเลือกการทำงานที่ต้องทำเป็นลำดับถัดไป
            การทำงานหลังจากการตรวจสอบเงื่อนไข จะมีการทำงานอยู่ 2 กรณีคือ
1. กรณีที่มีการทำงานเพียงขั้นตอนเดียว ในกรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริง หรือเป็นเท็จ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
2. กรณีที่มีการทำงาน 2 ขั้นตอน คือมีขั้นตอนการทำงานให้ ไม่ว่าผลการตรวจสอบเงื่อนไขจะเป็นจริงหรือเป็นเท็จ



โครงสร้างผังงานการทำซ้ำ
ลักษณะโครงสร้างผังงานการทำงานแบบทำซ้ำ ใช้ประโยชน์ในกรณีที่ต้องการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำกันหลายครั้ง โครงสร้างผังงานแบบทำซ้ำจะประกอบไปด้วยสัญลักษณ์การตัดสินใจ ใช้สำหรับตรวจสอบเงื่อนไขเพื่อตัดสินใจว่า จะเข้าสู่ขั้นตอนการทำซ้ำหรือไม่
ลักษณะการทำซ้ำ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ
          1. ทำในขณะที่
          2. ทำจนกระทั่ง

          1. การทำซ้ำลักษณะทำในขณะที่
            การทำงานของโครงสร้างผังงานการทำซ้ำลักษณะทำในขณะที่ (Do - While) ขั้นตอนแรกของการทำงาน คือ การตรวจสอบเงื่อนไขการทำซ้ำ ถ้าผลที่ได้จากการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริง จึงเข้าสู่ขั้นตอนของการทำงานในส่วนของการทำซ้ำ
          2. การทำซ้ำในลักษณะทำจนกระทั่ง
            ลักษณะของโครงสร้างผังงานการทำซ้ำลักษณะทำจนกระทั่ง (Do - Until) ขั้นตอนแรกของการทำงาน คือ ทำขั้นตอนการทำงานที่ต้องการทำซ้ำก่อนอย่างน้อยหนึ่งครั้ง หลังจากนั้นจึงทำการตรวจสอบเงื่อนไขสำหรับพิจารณาว่า จะกลับไปทำกระบวนการทำงานที่ต้องทำซ้ำหรือไม่ ถ้าผลที่ได้จากการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นเท็จ การทำงานของผังงานจะทำการย้อนกลับไปทำขั้นตอนการทำงานที่ต้องการทำซ้ำอีกครั้ง แล้วมาตรวจสอบเงื่อนไข ถ้าผลที่ได้จากการตรวจสอบยังคงเป็นเท็จ จะกลับไปทำกระบวนการที่ต้องทำซ้ำอีก จนกว่าผลที่ได้จากการตรวจสอบเงื่อนไขออกมาเป็นจริง จึงออกจากขั้นตอนการทำซ้ำ เพื่อทำงานในขั้นตอนอื่นต่อไป



          Sequence Flowchart
            The reader would start at the Start shape and follow the arrows from one rectangle to the other, finishing at the End shape.  A sequence is the simplest flowcharting construction. You do each step in order. If your charts are all sequences, then you probably don't need to draw a flowchart. You can type a simple list using your word processor. The power of a flowchart becomes evident when you include decisions and loops.  


         

          Decision Flowchart
            This structure is called a decision, "If Then…Else" or a conditional. A question is asked in the decision shape. Depending on the answer the control follows either of two paths. In the chart below, if the temperature is going to be less than freezing (32 degrees Fahrenheit) the tomatoes should be covered. Most RFFlow stencils include the words "Yes" and "No" so you can just drag them onto your chart. "True" and "False" are also included in most of the flowcharting stencils.



          Loop or Iteration Flowchart
            This structure allows you to repeat a task over and over. The red chart below on the left does the task and repeats doing the task until the condition is true.  The green chart on the right checks the condition first and does the task while the condition is true. It is not important that you remember whether the loop is a "Do While" or "Repeat Until" loop, only that you can check the condition at the start of the loop or at the end. You can also have the conditions reversed and your loop is still a structured design loop.


No comments:

Post a Comment